5 ขั้นตอนการเลือกหัวขับ

วาล์วหัวขับลม 5step how to select pneumatic actuator klqdthailand
Download PDF

Table of Contents

ขั้นตอนการเลือกหัวขับที่ใช้สำหรับอุปกรณ์วาล์วสำหรับ ในการเลือกหัวขับลมสำหรับวาล์วนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึง Safety Factor ของวาล์ว เพื่อให้ค่าแรงบิดที่สัมพันพันธ์กันระหว่างแรงบิดที่เกิดจากตัวหัวขับกับแรงบิดของวาล์วขณะเปลี่ยนสถานะ” (มีเวลาใกล้เคียงกับการเปิดหรือปิด)

วาล์วและหัวขับ มีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อ ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้หัวขับให้เหมาะสมตามขนาดของวาล์ว เพื่อให้วาล์วนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการเลือกหัวขับ Pneumatic actuator เพื่อให้เหมาะสมกับวาล์ว

1. เลือกประเภท ขนาด และวัสดุของวาล์ว ผู้ใช้สามารถตรวจสอบดูค่าแรงบิดของวาล์วตามคู่มือของทางผู้ผลิตระบุบไว้ให้เลือกดูค่าแรงบิดสูงสุดค่าแรงบิดจะสูงสุดเมื่อสถานะของวาล์วปิดสนิทและของเหลวอีกด้านจะต้องไม่มีของเหลวไหลอยู่ภายในท่อ

2. สำหรับการเผื่อค่า Safety Factor นั้นจะต้องเผื่อค่าแรงบิดประมาณ 25% (อ้างอิงจาก บริษัท Sirca International) หรือสามารถเลือกเผื่อค่า Safety Factor  ตามประเภทหรือจุดประสงค์การใช้งานของวาล์ว ตามข้อมูลด้านล่างนี้ ซึ่งอ้างอิงจาก Habonim valve

Corrections factors – special application

Emergency shut-down (ESD) service 1.8

IEC 61508 SIL complaint installation 1.8

Cryogenic applications (below-60 °C) 1.5

Valves operated less than once a day 1.5

Control valves 1.5

Corrections factors – Media

Gas, dirty (natural gas) 1.5

Gas, dry 1.3

Chlorine 1.5

Viscous slurry (cp>100) 2.0

Oil, thermal oil lubricant 0.8

3. ให้เลือกหัวขับที่มีค่าแรงบิดที่สูงกว่าแรงบิดของวาล์ว ตรวสอบค่า Torque หรือแรงบิด ของหัวขับ pneumatic actuator สามารถเลือกตรวจสอบได้ตามคู่มือของหัวขับ KLQD

4. เมื่อเลือกหัวขับที่เหมาะสมกับวาล์วแล้ว ให้ตรวจสอบ port การติดตั้งของวาล์วว่า มาตรฐานค่า ISO 5211 มีตำแหน่งที่ตรงกันหรือไม่ หากมีตำแหน่งที่ตรงกันก็สามารถนำมาติดตั้งเข้าด้วยกันได้เลย แต่หากตำแหน่งไม่ตรงกันหรือ วาล์วไม่มีมาตรฐาน ISO 5211 ให้ใช้อุปกรณ์เสริม Keymount เข้ามาติดตั้ง

5. อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้การทำงานของชุดวาล์วติดหัวขับสะดวกและตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ใช้ มีดังนี้

  • ชุด Keymount เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ วาล์วและหัวขับติดเข้าด้วยกันได้ ซึ่งประกอบด้วย Keymount Bushing Ring และ Star adapter
  • Limit Switch box เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบอกสถานะการทำงานของวาล์ว (สถานะเปิดปิด) และสามารถนำไปต่อสัญญาณ Contact ต่างๆ ได้อีกด้วย
  • Pneumatic solenoid valve  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนสถานะการทำงานของวาล์วติดหัวขับลม (ปิดเปิด) โดยใช้กระแสไฟฟ้าในการตัดต่อวงจร
  • Positioner เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์วาล์วติดหัวขับลม โดยการรับสัญญาณทา
  • ไฟฟ้า (4-20 mA) เพื่อควบคุมการทำงานวาล์วติดหัวขับลม หากใช้ Positioner แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ Solenoid valve